wireless lan
ระบบเครือข่ายไร้สาย
ระบบเครือข่ายไร้สาย หรือ ระบบเครือข่ายแบบ Wireless LAN หรือ WLAN เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายแบบไร้สาย (ไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล) เหมาะสำหรับการติดตั้งในสถานที่ที่ไม่สะดวกในการเดินสาย หรือในสถานที่ที่ต้องการความสวยงาม เรียบร้อย และเป็นระเบียบ เช่น สนามบิน โรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น
หลักการทำงานของระบบ Wireless LAN
การทำงานจะมีอุปกรณ์ในการส่งสัญญาณ และกระจายสัญญาณ หรือที่เราเรียกว่า Access Point และมี PC Card ที่เป็น LAN card สำหรับในการเชื่อมกับ access point โดยเฉพาะ การทำงานจะใช้คลื่นวิทยุเป็นการรับส่งสัญญาณ โดยมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 2.4 to 2.4897 Ghz และสามารถเลือก config ใน Wireless Lan (ภายในระบบเครือข่าย Wireless Lan ควรเลือกช่องสัญญาณเดียวกัน)
ระยะทางการเชื่อมต่อของระบบ Wireless LAN
ภายในอาคาร
1. ระยะ 50 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 11 Mbps
2. ระยะ 80 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5.5 Mbps
3. ระยะ 120 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps
4. ระยะ 150 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps
ภายนอกอาคาร
1.ระยะ 250 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 11 Mbps
2. ระยะ 350 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5.5 Mbps
3. ระยะ 400 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps
4. ระยะ 500 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps
การเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย Wireless LAN มี 2 ลักษณะ ดังนี้
1. การเชื่อมโยงระบบแบบ Ad-hoc (Peer to Peer)
โครงสร้างการเชื่อมโยงระบบแบบ Ad-hoc หรือ Peer to Peer เป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายและอุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป โดยที่ไม่มีศูนย์กลางควบคุมอุปกรณ์ทุกเครื่องสามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้เอง ตัวส่งจะใช้วิธีการแพร่กระจายคลื่นออกไปในทุกทิศทุกทางโดยไม่ทราบจุดหมายปลายทางของตัวรับว่าอยู่ที่ใด ซึ่งตัวรับจะต้องอยู่ในขอบเขตพื้นที่ให้บริการที่คลื่นสามารถเดินทางมาถึงแล้วคอยเช็คข้อมูลว่าใช่ของตน หรือไม่ ด้วยการตรวจสอบค่า Mac Address ผู้รับปลายทางในเฟรมข้อมูลที่แพร่กระจายออกมา ถ้าใช่ข้อมูลของตนก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปประมวลผลต่อไป
การเชื่อมโยงเครือข่ายไวร์เลสแลนที่ใช้โครงสร้างการเชื่อมโยงแบบ Ad-hoc ไม่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบเครือข่ายอีเธอร์เน็ตได้ เนื่องจากบนระบบไม่มีการใช้สัญญาณเลย
2. การเชื่อมโยงระบบแบบ Infrastructure (Client/Server)
โครงสร้างการเชื่อมโยงระบบแบบ Infrastructure หรือ Client / Server มีข้อพิเศษกว่าระบบแบบ Ad-hoc ตรงที่มีแอ็กเซสพอยน์เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยง (ทำหน้าที่คล้ายฮับ) และเป็นสะพานเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายอุปกรณ์ไวร์เลสแลนเข้าสู่เคลือข่ายอีเธอร์เน็ตแลนหลัก (Ethernet Backbone) รวมถึงการควบคุมการสื่อสารข้อมูลอุปกรณ์ไวร์เลสแลน
อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Wireless LAN
1. แลนการ์ดไร้สาย (Wireless LAN Card)
ทำหน้าที่ในการ แปลงข้อมูล ดิจิตอล ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นคลื่นวิทยุแล้วส่งผ่านสายอากาศให้กระจายออกไป และทำหน้าที่ในการรับเอาคลื่นวิทยุที่แพร่กระจายแปลงเป็น ข้อมูลดิจิตอล ส่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผล Wireless LAN ที่ผลิตออกมาจำหน่าย มีหลายรูปแบบแบ่งตามลักษณะช่องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้
- แลนการ์ดแบบ PCI
- แลนการ์ดแบบ PCMCIA
- แลนการ์ดแบบ USB
- แลนการ์ดแบบ Compact Flash (CF)
2. อุปกรณ์เข้าใช้งานเครือข่าย (Wireless Access Point)
ทำหน้าที่เสมือน ฮับ เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายและอุปกรณ์ไวร์เลสแลนแบบต่าง ๆเข้าด้วยกัน อีกทั้งเป็นสะพานเชื่อมต่อ เครื่องไวร์เลสแลนเข้ากับเครื่องอีเธอร์เนตทำให้ระบบทั้งสองสามารถสื่อสารกันได้
3. สะพานเชื่อมโยงไร้สาย (Wireless Bridge) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระบบ เครือข่ายอีเธอร์เน็ตแลนตั้งแต่สองระบบขึ้นไปเข้าด้วยกันแทนการใช้สายสัญญาณ ข้อมูลที่สื่อสารระหว่างเครือข่ายอีเธอร์เน็ตจะถูกแปลงเป็นคลื่นวิทยุแล้วถูกแปลงไปยังปลายทาง
4. Wireless Broadband Router
ทำหน้าที่ในการต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านคู่สายโทรศัพท์ (ADSL) หรือ เคเบิลทีวี (UBC) ด้วยเทคโนโลยี Broadband Router ซึ่งมีฟังชันการทำงานเป็นตัวค้นหาเส้นทาง, NAT (Network Address Translation) , Firewall , VPN ๆลๆ มาผสมผสานเข้ากับ Access Point ทำให้ผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายสามารถสื่อสารข้อมูลไปยังระบบอินเทอร์เน็ต
5. Wireless Print Server อุปกรณ์การแชร์เครื่องพิมพ์บนระบบเครือข่าย Wireless LAN
6. Power Over Ethernet Adapter
ทำหน้าที่แยกสาย UTP ที่มีสายทองแดงตีเกลียวอยู่ข้างใน 4 คู่โดยสายทองแดงสำหรับใช้สื่อสารข้อมูลใช้เพียง 2 คู่เท่านั้น ส่วนสายทองแดงอีก 2 คู่สามารถใช้อุปกรณ์ตัวนี้นำมาใช้เป็นเส้นทางสำหรับส่งแรงดันไฟฟ้าไปให้กับตัว Access Point ได้
7. สายอากาศ (Antenna)
ทำหน้าที่เปลี่ยนข้อมูลในรูปของกระแสไฟฟ้าที่ส่งออกมาจากภาคส่งของอุปกรณ์ไวร์เลสแลนให้กลายเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายออกไปในอากาศและสายอากาศยังทำหน้าที่รับเอาคลื่นที่อุปกรณ์ไวร์เลสแลนเครื่องอื่น ๆ ส่งออกมาแปลงกลับให้อยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้าส่งให้ภาครับต่อไป
ประโยชน์ของระบบ Wireless LAN
1. สะดวกในการเคลื่อนย้าย ติดตั้ง เนื่องจาก WLAN ไม่จำเป็นต้องมีสายเคเบิ้ลในการต่อพ่วง
2. ง่ายในการติดตั้ง เพราะไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล
3. ลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ต้องจำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา ในระยะยาว
4. สามารถขยายเครือข่ายได้ไม่จำกัด
ข้อเสียของระบบ Wireless LAN
1. มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง นั่นหมายความว่า “ ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น ”
2. มีสัญญาณรบกวนสูง
3. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
4. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้มีปัญหาในการใช้งานร่วมกัน
5. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย
6. มีความเร็วไม่สูงมากนัก
________________________________________________
Access Point
การใช้งานเครือข่ายไร้สายนั้น นอกจากเราจะใช้มันเป็นตัวเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายหลักแบบมีสาย หรือที่เราเรียกว่า Infrastructure Mode หรือการทำงานที่ Access Point ธรรมดาๆทั่วไปทำงานได้เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว
แต่ด้วยแต่ละพื้นที่ ที่จำเป็นต้องการใช้เครือข่าย wireless อาจจะประสบปัญหาเช่น ความแรงไม่พอ ต้องการต่อ Outdoor Wi-Fi Hotspot ที่อยู่ในระยะไกล, ต้องการแชร์อินเตอร์เน็ตที่มาจากผู้ให้บริการ, ต้องการขยายพื้นที่ใช้งาน, ต้องการแชร์อินเตอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ หรือแม้แต่การเชื่อมต่อแบบ Point to Point
EnGenius ถือเป็นผลิตภัณฑ์ Wireless ที่มี Mode การทำงานให้เลือกมากที่สุดถึง 7 Mode เหนือกว่ายี่ห้ออื่นๆในระดับเดียวกัน รวมถึง ยังมีกำลังส่ง และภาครับสัญญาณวิทยุ ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า อย่างเห็นได้ชัด (สามารถเปรียบเทียบได้จาก Transmit Power และ Sensiblility จาก Datasheet ซึ่งมีหน่วยเป็น dBm)
ทำความรู้จักกับแต่ละ Mode กันว่า ท่านจะเลือกใช้ Mode ต่างๆ เมื่อใด ในสถานการณ์แบบใด
โหมด Access Point คือโหมดพื้นฐานที่สุดของการใช้งาน Wireless อยู่แล้วนั่นคือ Access Point จะทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อเครื่องลูกข่ายเข้าสู่ ระบบเครือข่ายแบบมีสาย เพื่อเข้าไปใช้งานอินเตอร์เน็ต หรือเข้าไปยังเครือข่าย LAN ของสำนักงานเป็นต้น โดยการเข้าถึงเครือข่ายอาจจะมีการเข้ารหัส (Encryption) โดยผู้ใช้งานจะต้องใส่ Key ก่อนเชื่อมต่อ บนมาตรฐาน WEP หรือ WPA เป็นต้น
และสำหรับ AP ของ EnGenius บางรุ่นก็สามารถทำ Multi-SSID และ VLAN เพื่อแบ่ง Traffic ของผู้ใช้งานออกจากกันได้ด้วย
โหมด Client Bridge ก็คือ ตัวอุปกรณ์จะทำหน้าที่เหมือนเป็นตัวลูกข่ายเพื่อเข้าเชื่อมต่อกับ Access Point โดยในโหมดนี้ เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อไปยัง AP ระยะไกล หรือเพื่อเชื่อมต่อเครือข่าย wireless สำหรับอุปกรณ์เครือข่ายที่ไม่มี wireless card เช่นกล้องวงจรปิดแบบ IP เป็นต้น
Client Router จะมีการทำงานคล้ายกับ Mode Client Bridge แต่ว่า Mode นี้อุปกรณ์จะทำหน้าที่ NAT (Network Address Translation) ด้วย และมีฟังก์ชั่น DHCP ที่สามารถแจก IP Addresss ให้กับเครื่องลูกด้วย ในโหมดนี้ จะใช้ Wireless เป็น interface WAN และ ใช้พอร์ต RJ-45 เป็น interface LAN
พูดง่ายๆก็คือเอาไว้แชร์ Wireless Hotspot นั่นเอง เช่นเมื่อต่อ TRUE Wi-Fi หรือ Spider Hotspot แล้วต่อไปยัง switch เพื่อแชร์ให้ computer ในบ้านเรานั้น เราไม่จำเป็นต้องใช้ account login สำหรับทุกเครื่อง เพียงเครื่องใดเครื่องหนึ่ง login สำเร็จ เครื่องที่เหลือก็สามารถใช้งานได้ทันที (แม่เจ้ามันแหล่มจริงๆ)
________________________________________________
Wireless Router
เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้การจราจรโดยตรงระหว่างคอมพิวเตอร์ท้องถิ่นเครือข่ายร่วมกันทั้งสองผ่านอีเธอร์เน็ตสายหรือผ่านเทคโนโลยีคลื่นวิทยุ เครือข่ายที่ใช้อีเธอร์เน็ตสายจะเรียกว่าเครือข่ายยากสายขณะที่เครือข่ายคลื่นวิทยุที่เรียกว่าเครือข่ายไร้สาย ทั้งสองประเภทของเครือข่ายมีข้อดีและข้อเสีย แต่เครือข่ายไร้สายน้อยราคาแพงและง่ายที่สุดในการตั้งค่าเพราะพวกเขาไม่จำเป็นต้องใช้สายเคเบิลอีเธอร์เน็ตระหว่างเครื่องเราเตอร์มาตรฐานไม่ได้มีเทคโนโลยีไร้สายในตัวดังนั้นหากคุณต้องการเครือข่ายไร้สายคุณจะต้องเราเตอร์ไร้สาย
ในขณะที่เราเตอร์ไร้สายได้โดยตรงการจราจรบนเครือข่ายท้องถิ่น, โมเด็มจำเป็นต้องใช้ถ้าอินเทอร์เน็ตเป็นที่ต้องการ ในหลาย ๆ กรณีสายสมาชิกดิจิตอล ( DSL ) และสายอินเทอร์เน็ตให้บริการ (ISP) ให้โมเด็มที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อเชื่อมต่อกับบริการ เราเตอร์ไร้สายที่สามารถเชื่อมต่อกับโมเด็มเพื่อให้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตไปยังเครือข่าย
อีกตัวเลือกหนึ่งคือการได้รับเราเตอร์ไร้สายกับโมเด็มในตัวการลดจำนวนของอุปกรณ์ที่จำเป็น ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมากที่สุดในสายนี้มาพร้อมกับคำแนะนำสำหรับการกำหนดค่าโมเด็มในตัวที่จะเชื่อมต่อเป็นที่นิยม, ISPs ชาติมักจะออกกำลังกายเล็กน้อยสำหรับทุกคนที่มีประสบการณ์คอมพิวเตอร์น้อย หากคุณเลือกที่จะรับเราเตอร์ไร้สายกับโมเด็มในตัวคุณอาจจะต้องรู้ว่าสิ่งที่ชนิดของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่คุณจะได้รับ, (สายเคเบิลหรือ DSL) หรือคุณจะต้องการเราเตอร์รุ่นที่สนับสนุนทั้ง ชนิด
มีมาตรฐานการกระจายเสียงและหลายเราเตอร์ไร้สายจะสนับสนุนหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่ง แต่ไม่ทั้งหมดของมาตรฐานเหล่านี้ ข้อกำหนดเครือข่ายไร้สายที่กำหนดโดยสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ( IEEE ) และเป็นที่รู้จักกัน 802.11 มาตรฐาน จดหมายดังต่อไปนี้ชื่อนี้ในขณะที่ 802.11 nแสดงให้เห็นซึ่งโปรโตคอล (s) เราเตอร์สนับสนุน ความแตกต่างระหว่างโปรโตคอล (เช่น 802.11b, 802.11a, 802.11g, 802.11n ... ) คือความแรงของสัญญาณและความเร็ว คลื่นวิทยุเผยแพร่ในรูปแบบวงกลม, ออกไปจากเราเตอร์ไร้สาย แข็งแรงสัญญาณห่างไกลคุณสามารถวางคอมพิวเตอร์หรือแล็ปท็อปเดินด้วยและยังได้รับสัญญาณที่ดี เป็นจางหายความแข็งแรงลดลงประสิทธิภาพการสร้างข้อผิดพลาดข้อมูลและสัญญาณลดลง
ขณะที่ในไตรมาสที่สี่ 2008, มาตรฐานเดิมคือ 802.11g เราเตอร์ไร้สายที่สนับสนุนการดำเนินงาน 802.11g ในวง 2.4 GHz และท็อปส์ซูออกที่ความเร็วประมาณ 54 เมกะบิตต่อวินาที มาตรฐานใหม่จะแล้วเสร็จในปี 2009 เป็น 802.11n ปฏิบัติการในวง 5 GHz เราเตอร์ไร้สายที่สนับสนุนมาตรฐาน 802.11n สามารถส่งได้ถึงสี่ครั้งความเร็วของเราเตอร์ 802.11g จำไว้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแต่ละจะต้องการ์ดไร้สายภายในหรือภายนอกอุปกรณ์ wifi แบบพกพาที่รองรับโปรโตคอลเดียวกันเป็นเราเตอร์ไร้สาย
ธุรกิจอยู่แล้วโดยใช้มรดกมาตรฐาน 802.11g อาจต้องการเพิ่มเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใหม่โดยใช้มาตรฐาน 802.11n เร็ว ในกรณีนี้เราเตอร์วงสองแบบไร้สายที่รองรับทั้งมาตรฐาน 802.11g 2.4 GHz และ 5 มาตรฐาน 802.11n GHz อาจเป็นคำตอบ เราเตอร์ dual-band จะมีราคาแพงมากขึ้นเพราะพวกเขามีสองทางวิทยุ หากคุณกำลังตั้งค่าเครือข่ายเป็นครั้งแรกและไม่จำเป็นต้องเป็นวงดนตรีเตอร์คู่ไร้สายคุณสามารถประหยัดเงินโดยการผสานกับรูปแบบวงเดียว
________________________________________________