วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ระบบสื่อสาร 3G



                         3G คือ มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อแทนทีระบบ 2G ที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน โดย กสทช. จะจัดให้มีการประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่อนความถี่ 2.1 Hz หรือ 2100MHz ในวันนี้ (16 ตุลาคม 2555) เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือในการรับ-ส่งข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น พร้อมทั้งสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย และแข่งขันด้านโทรคมนาคมกับต่างประเทศได้ 


                      จากสาเหตุที่เครือข่ายให้บริการ 2G และ 3G คนละความถี่ ทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ จำเป็นจะต้องนำตัวเครื่องอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือมาจำหน่ายเอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้บนเครือข่ายของตน และบางรุ่นหากผู้ให้บริการไม่ได้นำเข้ามาขายอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้ก็จะไปหาเครื่องนอกที่รองรับเครือข่ายของตนมาใช้งานแทน ดังนั้นจะเห็นว่า การประมูลคลื่นความถี่ 3G นั้นจะเป็นตัวกำหนดอุปกรณ์การใช้งานของเรา หากใครยังจำได้ iPhone 3GS ไม่สนับสนุน 3G 900MHz ของ AIS ดังนั้นผู้ใช้ iPhone 3GS จะใช้งาน 3G ได้เต็มประสิทธิภาพเฉพาะบน 3G dtac และ truemove เท่านั้น เช่นเดียวกับที่หลายๆคนเคยสงสัยว่า ทำไมสมาร์ทโฟนจึงมีการแยกขายเครื่องแต่ละผู้ให้บริการ เนื่องจากมีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับความถี่ 3G ของแต่ละค่ายนั่นเอง

ลักษณะการทำงานของ 3G

                      เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ ,รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ



เทคโนโลยี 3G น่าสนใจอย่างไร 

                                   จากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียง และ แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น 3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว




อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G

                                สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555



BlackBerry Curve 9320 - แบล็คเบอร์รี่ Curve 9320



ข้อมูลเครือข่าย (Network)

ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)



ข้อมูลเครือข่าย (Network)
ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)
หน่วยประมวลผล : (ไม่ระบุ) 
- ความเร็ว : 1.2 GHz






ข้อมูลเครือข่าย (Network)

ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)
- ความเร็ว : 624 MHz



BlackBerry Torch 9810 - แบล็คเบอร์รี่ Torch 9810

ข้อมูลเครือข่าย (Network)

ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)








ข้อมูลเครือข่าย (Network)

ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)



BlackBerry Style 9670 - แบล็คเบอร์รี่ Style 9670

ข้อมูลเครือข่าย (Network)

ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)



BlackBerry Porsche Design P9981 


ข้อมูลเครือข่าย (Network)

ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)



BlackBerry Pearl 9105

ข้อมูลเครือข่าย (Network)

ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)


BlackBerry PlayBook 64GB 


ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)

ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ดาวเทียมไทยคม


          ปัจจุบัน ดาวเทียมไทยคม มีทั้งหมด 5 ดวง ใช้งานได้จริง 4 ดวง โดย 2 ใน 4 ดวงเป็นการใช้งานหลังหมดอายุที่คาดการณ์ และปลดระวางไปแล้ว 1 ดวง

         ไทยคม 1

 ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)
                 เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก เรียกชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "ไทยคม 1A"

ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E



        ไทยคม 2


ไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2552)
ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E

ไทยคม 3


ไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก มีพื้นที่การให้บริการ (footprint) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป สามารถให้บริการในเอเซีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกา และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 16 เมษายนพ.ศ. 2540 มีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี แต่ปลดระวางไปเมื่อปี 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าไม่พอ
ตำแหน่ง:  0°0′N 78°5′E


ไทยคม 4

ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากถึง 6486 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี
ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E



ไทยคม 5


ไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A (รุ่นเดียวกับไทยคม 3) สร้างโดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV) ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3
ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E


ไทยคม 6

ไทยคม6 เป็นดาวเทียมรุ่น สร้างโดย Space Exploration Technologies (SpaceX) มีน้ำหนัก3000 กิโลกรัม มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV)
ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E

ดาวเทียมไทยคม 1A และ 2

พื้นที่ให้บริการในย่านความถี่ C-Band

ดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุม ไทยลาวกัมพูชาพม่าเวียดนามมาเลเซียฟิลิปปินส์เกาหลีญี่ปุ่น, และชายฝั่งด้านตะวันออกของจีน

ดาวเทียมไทยคม 3

สถานะ : ปลดระวาง

ดาวเทียมไทยคม 5

  • ย่านความถี่ C-Band : 25 ทรานสพอนเดอร์
  • ย่านความถี่ Ku-Band : 14 ทรานสพอนเดอร์
    • ย่านความถี่ Ku-Band ของ Spot Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม ไทย, ประเทศในภูมิภาคอินโดจีน
    • ย่านความถี่ Ku-Band ของ Steerable Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม เวียดนาม, ประเทศในภูมิภาคอินโดจีน

ดาวเทียมไทยคม 6

  • ย่านความถี่ C-Band : 18 ทรานสพอนเดอร์
  • ย่านความถี่ Ku-Band : 8 ทรานสพอนเดอร์
    • ย่านความถี่ Ku-Band ของ Spot Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม ไทย, ประเทศในภูมิภาคอินโดจีน
    • ย่านความถี่ Ku-Band ของ Steerable Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม เวียดนาม, ประเทศในภูมิภาคอินโดจีน