วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การติดตั้ง Wireless Access Point ของ D-Link DWL-2000AP+ แบบง่ายๆ


                 การ setup อย่างง่ายๆ เพื่อทดลองการเชื่อมต่อ ระหว่างอุปกรณ์ชิ้นต่างๆ นั้นแนะนำให้ลองใช้ Setup Wizard เลยง่ายดี โดยเฉพาะการ Setup ของ D-Link DWL-2000AP+ ที่นำมาเป็นตัวอย่างในครั้งนี้ ไม่ต้องลง software อะไรเลย

                 หลังจากที่ผมแกะกล่องออกมาแล้ว ผมก็จัดการเสียบสาย Power เข้ากับตัว Wireless Access Point ทันที พร้อมทั้งเสียบสาย LAN เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง Wireless Access Point กับเครื่องคอมพิวเตอร์



                       การติดตั้ง Hardware เรียบร้อบแล้ว ต่อไปก็จะเป็นการตั้งค่าตัว Wireless Access Point กันบ้าง ขั้นแรกเลยก็ให้เปิด Web Browser ขึ้นมา ในที่นี้ผมขอใช้ Microsoft Internet Explorer  จากนั้นก็พิมพ์ 192.168.0.50 ไปที่ช่อง Address ตามรูปแล้วก็กด Enter  หลังจากนั้นก็จะมี Windows เล็กๆโผล่ขึ้นมา ถาม Username และ password  สำหรับ Wireless Access Point ของ D-Link ที่เพิ่งแกะกล่องออกมา จะตั้งค่า Username เป็น admin แต่ไม่มี password ครับ ทีนี้เราก็ป้อน admin ไปในช่อง Username แล้วก็คลิ๊กปุ่ม OK ได้เลย


หน้าจอหลัก ตอนนี้เราจะเริ่ม Setup กันเลย ขั้นแรกให้ลองคลิ๊กที่ Setup Wizard ดู


หน้าจอ Setup Wizard จะบอกเราว่า อย่างน้อยเราควรที่ผ่าน 4 ขั้นตอนในการ Setup คือ เปลี่ยน Password, การตั้งชื่อ SSID และ Channel, ตั้งการเข้ารหัสข้อมูล หลังจากนั้นก็ restart


ขั้นแรก ที่จะต้องทำคือ เปลี่ยน Password ซะก่อนนะ โดยพยายามเลือก Password ที่ไม่ง่ายในการเดาเกินไปนัก ใช้คำที่ไม่มีใน Dictionary ยิ่งปลอดภัย


หลังจากนั้นก็คือการเปลี่ยนชื่อ SSID ซึ่งก็คือระบบ Network ไร้สาย หรือเรียกย่อๆว่า WLAN (Wireless Local Area Network) การตั้งชื่อ SSID นี้ เราสามารถตั้งเป็นอะไรก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 32 ตัวอักษร


ต่อไปก็คือการเลือก Channel อะไรคือแชนแนล Channel นั้น คิดง่ายๆก็เหมือนคลื่นความถี่วิทยุนี่เอง พอผมคลิ๊กลงไปที่ Drop Down Menu ก็จะเห็นว่ามีถึง 13 Channel ให้เลือก ค่าที่ตั้งมาจากโรงงานก็คือ 6 เราสามารถเปลี่ยนเป็น Channel อะไรก็ได้ในภายหลัง เมื่อมีสัญญาณรบกวนจาก Wireless Network ข้างเคียงที่บังเอิญมาใช้ Channel 


วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556



wireless lan 

ระบบเครือข่ายไร้สาย 

          ระบบเครือข่ายไร้สาย หรือ ระบบเครือข่ายแบบ Wireless LAN หรือ WLAN  เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายแบบไร้สาย (ไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล) เหมาะสำหรับการติดตั้งในสถานที่ที่ไม่สะดวกในการเดินสาย หรือในสถานที่ที่ต้องการความสวยงาม เรียบร้อย และเป็นระเบียบ เช่น สนามบิน โรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น

หลักการทำงานของระบบ Wireless LAN

          การทำงานจะมีอุปกรณ์ในการส่งสัญญาณ และกระจายสัญญาณ หรือที่เราเรียกว่า Access Point และมี PC Card ที่เป็น LAN card สำหรับในการเชื่อมกับ access point โดยเฉพาะ การทำงานจะใช้คลื่นวิทยุเป็นการรับส่งสัญญาณ โดยมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 2.4 to 2.4897 Ghz และสามารถเลือก config ใน Wireless Lan (ภายในระบบเครือข่าย Wireless Lan ควรเลือกช่องสัญญาณเดียวกัน)





ระยะทางการเชื่อมต่อของระบบ Wireless LAN

          ภายในอาคาร 
          1. ระยะ 50 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 11 Mbps 
          2. ระยะ 80 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5.5 Mbps 
          3. ระยะ 120 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps 
          4. ระยะ 150 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps 
          ภายนอกอาคาร 
          1.ระยะ 250 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 11 Mbps 
          2. ระยะ 350 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5.5 Mbps 
          3. ระยะ 400 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps 
          4. ระยะ 500 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps


การเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย Wireless LAN มี 2 ลักษณะ ดังนี้

          1. การเชื่อมโยงระบบแบบ Ad-hoc (Peer to Peer) 
          โครงสร้างการเชื่อมโยงระบบแบบ Ad-hoc หรือ Peer to Peer เป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายและอุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป โดยที่ไม่มีศูนย์กลางควบคุมอุปกรณ์ทุกเครื่องสามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้เอง ตัวส่งจะใช้วิธีการแพร่กระจายคลื่นออกไปในทุกทิศทุกทางโดยไม่ทราบจุดหมายปลายทางของตัวรับว่าอยู่ที่ใด ซึ่งตัวรับจะต้องอยู่ในขอบเขตพื้นที่ให้บริการที่คลื่นสามารถเดินทางมาถึงแล้วคอยเช็คข้อมูลว่าใช่ของตน หรือไม่ ด้วยการตรวจสอบค่า Mac Address ผู้รับปลายทางในเฟรมข้อมูลที่แพร่กระจายออกมา ถ้าใช่ข้อมูลของตนก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปประมวลผลต่อไป
การเชื่อมโยงเครือข่ายไวร์เลสแลนที่ใช้โครงสร้างการเชื่อมโยงแบบ Ad-hoc ไม่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบเครือข่ายอีเธอร์เน็ตได้ เนื่องจากบนระบบไม่มีการใช้สัญญาณเลย
          2. การเชื่อมโยงระบบแบบ Infrastructure (Client/Server)
          โครงสร้างการเชื่อมโยงระบบแบบ Infrastructure หรือ Client / Server มีข้อพิเศษกว่าระบบแบบ Ad-hoc ตรงที่มีแอ็กเซสพอยน์เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยง (ทำหน้าที่คล้ายฮับ) และเป็นสะพานเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายอุปกรณ์ไวร์เลสแลนเข้าสู่เคลือข่ายอีเธอร์เน็ตแลนหลัก (Ethernet Backbone) รวมถึงการควบคุมการสื่อสารข้อมูลอุปกรณ์ไวร์เลสแลน 

อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Wireless LAN

          1. แลนการ์ดไร้สาย (Wireless LAN Card)
          ทำหน้าที่ในการ แปลงข้อมูล ดิจิตอล ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นคลื่นวิทยุแล้วส่งผ่านสายอากาศให้กระจายออกไป และทำหน้าที่ในการรับเอาคลื่นวิทยุที่แพร่กระจายแปลงเป็น ข้อมูลดิจิตอล ส่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผล Wireless LAN ที่ผลิตออกมาจำหน่าย มีหลายรูปแบบแบ่งตามลักษณะช่องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้ 
- แลนการ์ดแบบ PCI 
- แลนการ์ดแบบ PCMCIA 
- แลนการ์ดแบบ USB
- แลนการ์ดแบบ Compact Flash (CF)
          2. อุปกรณ์เข้าใช้งานเครือข่าย (Wireless Access Point)
          ทำหน้าที่เสมือน ฮับ เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายและอุปกรณ์ไวร์เลสแลนแบบต่าง ๆเข้าด้วยกัน อีกทั้งเป็นสะพานเชื่อมต่อ เครื่องไวร์เลสแลนเข้ากับเครื่องอีเธอร์เนตทำให้ระบบทั้งสองสามารถสื่อสารกันได้ 
          3. สะพานเชื่อมโยงไร้สาย (Wireless Bridge)           ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระบบ เครือข่ายอีเธอร์เน็ตแลนตั้งแต่สองระบบขึ้นไปเข้าด้วยกันแทนการใช้สายสัญญาณ ข้อมูลที่สื่อสารระหว่างเครือข่ายอีเธอร์เน็ตจะถูกแปลงเป็นคลื่นวิทยุแล้วถูกแปลงไปยังปลายทาง
          4. Wireless Broadband Router
          ทำหน้าที่ในการต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านคู่สายโทรศัพท์ (ADSL) หรือ เคเบิลทีวี (UBC) ด้วยเทคโนโลยี Broadband Router ซึ่งมีฟังชันการทำงานเป็นตัวค้นหาเส้นทาง, NAT (Network Address Translation) , Firewall , VPN ๆลๆ มาผสมผสานเข้ากับ Access Point ทำให้ผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายสามารถสื่อสารข้อมูลไปยังระบบอินเทอร์เน็ต
          5. Wireless Print Server           อุปกรณ์การแชร์เครื่องพิมพ์บนระบบเครือข่าย Wireless LAN
          6. Power Over Ethernet Adapter 
          ทำหน้าที่แยกสาย UTP ที่มีสายทองแดงตีเกลียวอยู่ข้างใน 4 คู่โดยสายทองแดงสำหรับใช้สื่อสารข้อมูลใช้เพียง 2 คู่เท่านั้น ส่วนสายทองแดงอีก 2 คู่สามารถใช้อุปกรณ์ตัวนี้นำมาใช้เป็นเส้นทางสำหรับส่งแรงดันไฟฟ้าไปให้กับตัว Access Point ได้ 
          7. สายอากาศ (Antenna) 
          ทำหน้าที่เปลี่ยนข้อมูลในรูปของกระแสไฟฟ้าที่ส่งออกมาจากภาคส่งของอุปกรณ์ไวร์เลสแลนให้กลายเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายออกไปในอากาศและสายอากาศยังทำหน้าที่รับเอาคลื่นที่อุปกรณ์ไวร์เลสแลนเครื่องอื่น ๆ ส่งออกมาแปลงกลับให้อยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้าส่งให้ภาครับต่อไป


ประโยชน์ของระบบ Wireless LAN

          1. สะดวกในการเคลื่อนย้าย ติดตั้ง เนื่องจาก WLAN ไม่จำเป็นต้องมีสายเคเบิ้ลในการต่อพ่วง 
          2. ง่ายในการติดตั้ง เพราะไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล 
          3. ลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ต้องจำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา ในระยะยาว 
          4. สามารถขยายเครือข่ายได้ไม่จำกัด


ข้อเสียของระบบ Wireless LAN

          1. มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง นั่นหมายความว่า “ ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น ”
          2. มีสัญญาณรบกวนสูง
          3. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
          4. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้มีปัญหาในการใช้งานร่วมกัน
          5. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย 
          6. มีความเร็วไม่สูงมากนัก


________________________________________________

Access Point 


       การใช้งานเครือข่ายไร้สายนั้น นอกจากเราจะใช้มันเป็นตัวเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายหลักแบบมีสาย หรือที่เราเรียกว่า Infrastructure Mode หรือการทำงานที่ Access Point ธรรมดาๆทั่วไปทำงานได้เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

       แต่ด้วยแต่ละพื้นที่ ที่จำเป็นต้องการใช้เครือข่าย wireless อาจจะประสบปัญหาเช่น ความแรงไม่พอ ต้องการต่อ Outdoor Wi-Fi Hotspot ที่อยู่ในระยะไกล, ต้องการแชร์อินเตอร์เน็ตที่มาจากผู้ให้บริการ, ต้องการขยายพื้นที่ใช้งาน, ต้องการแชร์อินเตอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ หรือแม้แต่การเชื่อมต่อแบบ Point to Point

       EnGenius ถือเป็นผลิตภัณฑ์ Wireless ที่มี Mode การทำงานให้เลือกมากที่สุดถึง 7 Mode เหนือกว่ายี่ห้ออื่นๆในระดับเดียวกัน รวมถึง ยังมีกำลังส่ง และภาครับสัญญาณวิทยุ ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า อย่างเห็นได้ชัด (สามารถเปรียบเทียบได้จาก Transmit Power และ Sensiblility จาก Datasheet ซึ่งมีหน่วยเป็น dBm)

       ทำความรู้จักกับแต่ละ Mode กันว่า ท่านจะเลือกใช้ Mode ต่างๆ เมื่อใด ในสถานการณ์แบบใด
                      โหมด Access Point คือโหมดพื้นฐานที่สุดของการใช้งาน Wireless อยู่แล้วนั่นคือ Access Point จะทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อเครื่องลูกข่ายเข้าสู่ ระบบเครือข่ายแบบมีสาย เพื่อเข้าไปใช้งานอินเตอร์เน็ต หรือเข้าไปยังเครือข่าย LAN ของสำนักงานเป็นต้น โดยการเข้าถึงเครือข่ายอาจจะมีการเข้ารหัส (Encryption) โดยผู้ใช้งานจะต้องใส่ Key ก่อนเชื่อมต่อ บนมาตรฐาน WEP หรือ WPA เป็นต้น 

                    และสำหรับ AP ของ EnGenius บางรุ่นก็สามารถทำ Multi-SSID และ VLAN เพื่อแบ่ง Traffic ของผู้ใช้งานออกจากกันได้ด้วย

                  โหมด Client Bridge ก็คือ ตัวอุปกรณ์จะทำหน้าที่เหมือนเป็นตัวลูกข่ายเพื่อเข้าเชื่อมต่อกับ Access Point โดยในโหมดนี้ เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อไปยัง AP ระยะไกล หรือเพื่อเชื่อมต่อเครือข่าย wireless สำหรับอุปกรณ์เครือข่ายที่ไม่มี wireless card เช่นกล้องวงจรปิดแบบ IP เป็นต้น

    
              Client Router จะมีการทำงานคล้ายกับ Mode Client Bridge แต่ว่า Mode นี้อุปกรณ์จะทำหน้าที่ NAT (Network Address Translation) ด้วย และมีฟังก์ชั่น DHCP ที่สามารถแจก IP Addresss ให้กับเครื่องลูกด้วย ในโหมดนี้ จะใช้ Wireless เป็น interface WAN และ ใช้พอร์ต RJ-45 เป็น interface LAN





           พูดง่ายๆก็คือเอาไว้แชร์ Wireless Hotspot นั่นเอง เช่นเมื่อต่อ TRUE Wi-Fi หรือ Spider Hotspot แล้วต่อไปยัง switch เพื่อแชร์ให้ computer ในบ้านเรานั้น เราไม่จำเป็นต้องใช้ account login สำหรับทุกเครื่อง เพียงเครื่องใดเครื่องหนึ่ง login สำเร็จ เครื่องที่เหลือก็สามารถใช้งานได้ทันที (แม่เจ้ามันแหล่มจริงๆ)



________________________________________________




Wireless Router

              เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้การจราจรโดยตรงระหว่างคอมพิวเตอร์ท้องถิ่นเครือข่ายร่วมกันทั้งสองผ่านอีเธอร์เน็ตสายหรือผ่านเทคโนโลยีคลื่นวิทยุ เครือข่ายที่ใช้อีเธอร์เน็ตสายจะเรียกว่าเครือข่ายยากสายขณะที่เครือข่ายคลื่นวิทยุที่เรียกว่าเครือข่ายไร้สาย ทั้งสองประเภทของเครือข่ายมีข้อดีและข้อเสีย แต่เครือข่ายไร้สายน้อยราคาแพงและง่ายที่สุดในการตั้งค่าเพราะพวกเขาไม่จำเป็นต้องใช้สายเคเบิลอีเธอร์เน็ตระหว่างเครื่องเราเตอร์มาตรฐานไม่ได้มีเทคโนโลยีไร้สายในตัวดังนั้นหากคุณต้องการเครือข่ายไร้สายคุณจะต้องเราเตอร์ไร้สาย
     ในขณะที่เราเตอร์ไร้สายได้โดยตรงการจราจรบนเครือข่ายท้องถิ่น, โมเด็มจำเป็นต้องใช้ถ้าอินเทอร์เน็ตเป็นที่ต้องการ ในหลาย ๆ กรณีสายสมาชิกดิจิตอล ( DSL ) และสายอินเทอร์เน็ตให้บริการ (ISP) ให้โมเด็มที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อเชื่อมต่อกับบริการ เราเตอร์ไร้สายที่สามารถเชื่อมต่อกับโมเด็มเพื่อให้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตไปยังเครือข่าย
            อีกตัวเลือกหนึ่งคือการได้รับเราเตอร์ไร้สายกับโมเด็มในตัวการลดจำนวนของอุปกรณ์ที่จำเป็น ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมากที่สุดในสายนี้มาพร้อมกับคำแนะนำสำหรับการกำหนดค่าโมเด็มในตัวที่จะเชื่อมต่อเป็นที่นิยม, ISPs ชาติมักจะออกกำลังกายเล็กน้อยสำหรับทุกคนที่มีประสบการณ์คอมพิวเตอร์น้อย หากคุณเลือกที่จะรับเราเตอร์ไร้สายกับโมเด็มในตัวคุณอาจจะต้องรู้ว่าสิ่งที่ชนิดของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่คุณจะได้รับ, (สายเคเบิลหรือ DSL) หรือคุณจะต้องการเราเตอร์รุ่นที่สนับสนุนทั้ง ชนิด

               มีมาตรฐานการกระจายเสียงและหลายเราเตอร์ไร้สายจะสนับสนุนหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่ง แต่ไม่ทั้งหมดของมาตรฐานเหล่านี้ ข้อกำหนดเครือข่ายไร้สายที่กำหนดโดยสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ( IEEE ) และเป็นที่รู้จักกัน 802.11 มาตรฐาน จดหมายดังต่อไปนี้ชื่อนี้ในขณะที่ 802.11 nแสดงให้เห็นซึ่งโปรโตคอล (s) เราเตอร์สนับสนุน ความแตกต่างระหว่างโปรโตคอล (เช่น 802.11b, 802.11a, 802.11g, 802.11n ... ) คือความแรงของสัญญาณและความเร็ว คลื่นวิทยุเผยแพร่ในรูปแบบวงกลม, ออกไปจากเราเตอร์ไร้สาย แข็งแรงสัญญาณห่างไกลคุณสามารถวางคอมพิวเตอร์หรือแล็ปท็อปเดินด้วยและยังได้รับสัญญาณที่ดี เป็นจางหายความแข็งแรงลดลงประสิทธิภาพการสร้างข้อผิดพลาดข้อมูลและสัญญาณลดลง

               ขณะที่ในไตรมาสที่สี่ 2008, มาตรฐานเดิมคือ 802.11g เราเตอร์ไร้สายที่สนับสนุนการดำเนินงาน 802.11g ในวง 2.4 GHz และท็อปส์ซูออกที่ความเร็วประมาณ 54 เมกะบิตต่อวินาที มาตรฐานใหม่จะแล้วเสร็จในปี 2009 เป็น 802.11n ปฏิบัติการในวง 5 GHz เราเตอร์ไร้สายที่สนับสนุนมาตรฐาน 802.11n สามารถส่งได้ถึงสี่ครั้งความเร็วของเราเตอร์ 802.11g จำไว้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแต่ละจะต้องการ์ดไร้สายภายในหรือภายนอกอุปกรณ์ wifi แบบพกพาที่รองรับโปรโตคอลเดียวกันเป็นเราเตอร์ไร้สาย

               ธุรกิจอยู่แล้วโดยใช้มรดกมาตรฐาน 802.11g อาจต้องการเพิ่มเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใหม่โดยใช้มาตรฐาน 802.11n เร็ว ในกรณีนี้เราเตอร์วงสองแบบไร้สายที่รองรับทั้งมาตรฐาน 802.11g 2.4 GHz และ 5 มาตรฐาน 802.11n GHz อาจเป็นคำตอบ เราเตอร์ dual-band จะมีราคาแพงมากขึ้นเพราะพวกเขามีสองทางวิทยุ หากคุณกำลังตั้งค่าเครือข่ายเป็นครั้งแรกและไม่จำเป็นต้องเป็นวงดนตรีเตอร์คู่ไร้สายคุณสามารถประหยัดเงินโดยการผสานกับรูปแบบวงเดียว


________________________________________________


วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556



การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง


                     เมื่อเราต่อ GPRS เข้าเครื่องหลักผ่านทาง USB ได้แล้วจะแชร์ไปให้ตัวลูกใช้ โดยทางการ์ดแลน

>>>> | GPRS | -------------- USB> | เครื่องหลัก | > LAN ------------ สายแลน --------- LAN >|เครื่องรอง|

          ตามแบบที่ให้มาใช่ไหมครับ ถ้าใช่ก็ง่ายนิดเดียวครับ ตอนแรกคุณก็ต่อสายแลนให้ทั้งสองเครื่องเห็นกันก่อน

สิ่งที่ต้องมี
   
    1.   คอมพิวเตอร์สองเครื่อง และต้องติดตั้งการ์ด LAN ทั้งสองเครื่อง (หรือถ้ามีอยู่แล้วก็ไม่ต้อง)
    2.   ทำสาย LAN แบบไขว้ หรือสายแลนแบบ cross + เข้าหัว RJ45 ความยาวสาย กะเอาครับว่าจะห่างกันแค่ไหน (สายแลนแบบ cross ก็คือ การต่อสายเพื่อให้ใช้ได้กับเครื่องคอม 2 เครื่องโดยไม่ต้องผ่าน HUB)
เวลาซื้อสายแลนต้องบอกช่างว่า จะต่อจากเครื่องคอมเข้าเครื่องคอม.. ถามซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์คอม
ทั่วๆ ไปครับ เฉลี่ยเมตรละ 10 บาท + หัว RJ45 หัวละ 10 บาท 2 หัวด้วยนะ 

วิธีการ
    1.   เสียบสายแลนที่เตรียมไว้ เข้ากับคอมทั้งสองเครื่อง
    2.   ถ้าคุณต้องการแชร์ไฟล์เฉยๆ หรือต่อเพื่อเล่นเกม LAN ก็เข้าไปตั้งค่า IP ทั้งสองเครื่องให้อยู่ในวง
          เดียวกัน เช่น 192.168.0.1 และ 192.168.0.2 เป็นต้น
    3.   ถ้าคุณต้องการให้เครื่อง 1 แชร์เน็ตให้เครื่อง 2 (win XP) ให้กดเมาส์ขวาที่ Network ซึ่งต่อเน็ต กด
          พร็อพเพอตี้ แล้วไปที่แท็ป Advance เลือกแชร์อินเทอร์เน็ต
    4.   เครื่องลูก หรือเครื่อง 2 ไม่ตั้ง IP เป็น Auto เพราะเครื่องหนึ่งจะจ่าย IP ให้เองครับ (DHCP)

วิธีการเซตเวิร์คกรุ๊ป
         ก่อนอื่นต้องเซ็ท WORKGROUP ให้มีชื่อเหมือนกันก่อน
    1.  คลิ้กขวา My Computer เลือก Properties เลือกแทป Computer Name คลิ้ก Change
    2.  สังเกตตรง Member of ให้ติ้ก Workgroup : แล้วพิมชื่อทั้ง 2 เครื่องให้เหมือนกันกด OK (ส่วนมาก 
         จะใช้กันคือ MSHOME)
    3.  รีตาร์ทเครื่อง
เท่านี้เครื่องก็จะ share กันได้แล้ว

        ที่นี้คุณเห็น icon ที่ต่อใช้ต่อ netไหมครับ click ขวา => properties => advance แล้วติ๊กตรงช่อง
ที่เขียนว่า allow other network user to connect through ................. ช่องที่เหลือ 2 ช่องปล่อยว่างไว้
แล้วไปแก้ default gateway ของเครื่องลูกใส่ เลข ip ของเครื่องแม่ เช่น192.168.0.1 แค่นี้ก็ได้แล้วครับ
ถ้าให้ล็อคกันแม่นๆขึ้นไปอีกก็ไส่ตัวเลขค่า primary dns และ scondary dns ตามแต่ผู้ให้ปริการเพราะถ้า 
windows ต่างกันต้องใส่ให้ครบ



การใช้โน๊ตบุ๊คในการติดต่อสื่อสารกัน



                         เป็นเทคโนโลยีที่อยู่ภายใต้มาตรฐานชื่อว่า IEEE 802.11 ได้ก าหนดให้อุปกรณ์มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 1, 2, 5.5, 11 และ 54 Mbps โดยมีสื่อแต่ละประเภทให้เลือกใช้ได้แก่ คลื่นวิทยุที่ความถี่สาธารณะ 2.4 และ 5 GHz  ซึ่งในประเทศไทยนั้นใช้คลื่นวิทยุที่ความถี่ 2.4 GHz การเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี Wireless LAN นั้นมีรูปแบบการเชื่อมต่อ คือ 

               1. การเชื่อมต่อแบบแอดฮอค (Ad-Hoc) คือการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น 
โน๊ตบุ๊ค พีดีเอ ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปโดยไม่ต้องใช้ Access point การติดต่อสื่อสารแบบแอดฮอคนี้ทุกเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรง เช่นสามารถรับส่งไฟล์ แชท วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ หรือเล่นเกมส์ในวงแลนได้ 
               2. การเชื่อมต่อแบบเป็นโครงสร้าง (Infrastructure) คือการติดต่อสื่อสารโดยมีสถานีฐาน (Access point) เป็นศูนย์กลาง ทุกสถานีที่ใช้งานจะต้องอยู่ภายในรัศมีการใช้งานของ Access point ประมาณ 50เมตรในบริเวณเปิด อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันโดยผ่าน Access point และสามารถติดต่อกับภายนอกวงแลนได้โดยผ่าน Access point ซึ่งท าหน้าที่คล้ายกับ Hub ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบใช้สาย เครือข่ายแบบ Infrastructure สามารถมาแทนที่เครือข่ายแบบใช้สายเดิมได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้นเพราะไม่จ าเป็นต้องเดินสายของแต่ละเครื่อง (ยกเว้น Access point) สะดวกในการปรับเปลี่ยน เคลื่อนย้าย หรือขยายขนาดของเครือข่าย ปัจจุบัน ตามบริษัท ส านักงาน สถานศึกษา และองค์กรต่างเริ่มน าเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายมาใช้มากขึ้นก็คือเราสามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้โดยไม่ต้องมีสายนั่นเอง เราสามารถยกพีซี โน๊ตบุ๊ก หรือ กระทั่ง พีดีเอ ของเราไปใช้งานที่ไหนก็ได้ที่มีระบบแลนไร้สายติดตั้งอยู่ นั่นหมายความว่าเราจะสามารถนั่งเล่นเน็ตในห้องน้ า หรือเล่น msn ที่โซฟา ได้สบายมาก แต่มีข้อแม้ว่าอุปกรณ์ต่างๆของเรา ต้องรองรับฟังก์ชันการท างานแบบไร้สาย หรือที่เรียกง่ายๆว่า Wi-Fi ถ้าแปลตรงตัวเลย ก็คือแลนที่ไม่ต้องใช้สาย หรือแลน
ไร้สายนั่นเอง


                 Wi-Fi ย่อมาจากค าว่า Wireless Fidelity ก็จะพออธิบายในตัวมันเองได้คร่าวๆ ว่า Wi-Fi เป็นชื่อมาตรฐานที่ถูกออกมาเพื่อให้อุปกรณ์หลายชนิด หลายยี่ห้อ ท างานเข้ากันได้ซึ่งก็ยึดกับมาตรฐานอีกตัวก็คือ IEEE ที่ออกมาก าหนดว่า การสื่อสารแบบไร้สายของแลนนั้น คือ IEEE 802.11 ส่วนตัวอักษรที่จะตามมานั้นก็ขึ้นกับเทคโนโลยีนั้นๆ ปัจจุบันที่นิยมกันก็จะเป็น IEEE 802.11b เนื่องจากราคาถูก และก็เพียงพอที่จะใช้เล่นอินเตอร์เน็ต ด้วยเทคโนโลยีนี้ มันสามารถส่งผ่านข้อมูลได้ถึง 11 Mbps ด้วยความเร็วระดับนี้ถ้าสำหรับอินเตอร์เน็ตก็ใช้ได้  
               แต่ถ้าใครเป็นพวกไม่ค่อยอยู่ติดบ้าน ก็ต้องนี่เลยครับ ไปเล่นตาม Hotspot ก็คือที่ที่เค้ามีให้บริการ Wireless Internet ปัจจุบันที่นิยมมากก็ตามร้านกาแฟ พวกบ้านไร่ สตาร์บัคส์ ทีนี้ก็คงมีคนเริ่มงงว่าเน็ตที่บ้านก็มีทำไมต้องดิ้นรนแบกคอม หอบสังขารไปเล่นข้างนอก เล่นที่บ้านไม่ได้เหรอ อันนี้ก็ตอบง่ายมากว่าจุดดีของการได้ไปเล่นเน็ตตาม Hotspot ก็คือความเร็ว เท่าที่ทราบความเร็วอย่างต่ าของที่ Hotspot คือ 128K นั่นหมายความว่าเราสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้เร็วกว่าใช้โมเด็มถึง 2 เท่าถ้าเทียบกับโมเด็ม 56K แต่ถ้าใครที่บ้านมี ADSL 128K อยู่แล้วก็อาจไม่ตื่นเต้นเท่าไหร่ แต่ที่ชัวร์ๆเลยนะครับ เราได้เปลี่ยนบรรยากาศแน่นอน อารมณ์ประมาณว่าชีวิตอิสระ ไม่มีสายให้เกะกะยุ่งยาก 




วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ระบบสื่อสาร 3G



                         3G คือ มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อแทนทีระบบ 2G ที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน โดย กสทช. จะจัดให้มีการประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่อนความถี่ 2.1 Hz หรือ 2100MHz ในวันนี้ (16 ตุลาคม 2555) เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือในการรับ-ส่งข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น พร้อมทั้งสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย และแข่งขันด้านโทรคมนาคมกับต่างประเทศได้ 


                      จากสาเหตุที่เครือข่ายให้บริการ 2G และ 3G คนละความถี่ ทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ จำเป็นจะต้องนำตัวเครื่องอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือมาจำหน่ายเอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้บนเครือข่ายของตน และบางรุ่นหากผู้ให้บริการไม่ได้นำเข้ามาขายอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้ก็จะไปหาเครื่องนอกที่รองรับเครือข่ายของตนมาใช้งานแทน ดังนั้นจะเห็นว่า การประมูลคลื่นความถี่ 3G นั้นจะเป็นตัวกำหนดอุปกรณ์การใช้งานของเรา หากใครยังจำได้ iPhone 3GS ไม่สนับสนุน 3G 900MHz ของ AIS ดังนั้นผู้ใช้ iPhone 3GS จะใช้งาน 3G ได้เต็มประสิทธิภาพเฉพาะบน 3G dtac และ truemove เท่านั้น เช่นเดียวกับที่หลายๆคนเคยสงสัยว่า ทำไมสมาร์ทโฟนจึงมีการแยกขายเครื่องแต่ละผู้ให้บริการ เนื่องจากมีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับความถี่ 3G ของแต่ละค่ายนั่นเอง

ลักษณะการทำงานของ 3G

                      เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ ,รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ



เทคโนโลยี 3G น่าสนใจอย่างไร 

                                   จากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียง และ แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น 3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว




อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G

                                สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555



BlackBerry Curve 9320 - แบล็คเบอร์รี่ Curve 9320



ข้อมูลเครือข่าย (Network)

ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)



ข้อมูลเครือข่าย (Network)
ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)
หน่วยประมวลผล : (ไม่ระบุ) 
- ความเร็ว : 1.2 GHz






ข้อมูลเครือข่าย (Network)

ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)
- ความเร็ว : 624 MHz



BlackBerry Torch 9810 - แบล็คเบอร์รี่ Torch 9810

ข้อมูลเครือข่าย (Network)

ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)








ข้อมูลเครือข่าย (Network)

ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)



BlackBerry Style 9670 - แบล็คเบอร์รี่ Style 9670

ข้อมูลเครือข่าย (Network)

ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)



BlackBerry Porsche Design P9981 


ข้อมูลเครือข่าย (Network)

ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)



BlackBerry Pearl 9105

ข้อมูลเครือข่าย (Network)

ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)


BlackBerry PlayBook 64GB 


ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)

ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)